แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าฉบับทางเลือกของประเทศไทย

By: 
ชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน และ ดร. คริส กรีเซน
Date: 
Monday, October 15, 2012

แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (Power Development Plan-พีดีพี) ของประเทศไทยเป็นแผนแม่บทสำหรับการลงทุนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าในประเทศ ซึ่งจัดทำโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการวางแผนที่เป็นปัญหาถึงขั้นวิกฤต โดยเลือกที่จะสร้างโรงไฟฟ้าจำนวนมากที่ก่อมลพิษ สร้างความขัดแย้ง และมีต้นทุนกับความเสี่ยงสูง แทนที่จะเป็นทางเลือกอื่นๆ ที่ปลอดภัยกว่า สะอาดกว่า และถูกกว่า ซึ่งขัดกับนโยบายด้านการพลังงานของประเทศไทย และยังขัดกับผลประโยชน์ของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศอีกด้วย

รายงานและแผนพีดีพีฉบับใหม่เรื่อง ข้อเสนอแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า 2555-2573 (แผนพีดีพี 2012) และกรอบเพื่อการพัฒนาความรับผิดชอบตรวจสอบได้ของการวางแผนภาคพลังงานไฟฟ้า จัดทำโดย ชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน และ ดร. คริส กรีเซน ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานของประเทศไทย โดยได้เสนอทางเลือกที่จะแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจากแผนพีดีพีฉบับทางการของไทย รายงานฉบับนี้ได้รับการรับรองจากองค์กรภาคประชาสังคมของไทยกว่า 140 แห่ง  และได้นำเสนอไปยังรัฐบาลไทยตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2555 นอกจากนี้ แผนพีดีพีฉบับนี้ยังได้นำเสนอทางเลือกเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของประเทศไทยและผลประโยชน์ของประชาชนไทยมากกว่าแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าฉบับล่าสุดของกฟผ. ปีพ.ศ. 2553 โดยแผนฉบับใหม่แสดงให้เห็นถึงสาเหตุที่พลังงานจากเขื่อนไซยะบุรีและเขื่อนบนลุ่มแม่น้ำโขง รวมทั้งพลังงานทำลายอื่นๆ ไม่ได้มีความจำเป็นต่อประเทศไทย

การศึกษาชิ้นนี้ได้สรุปข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อให้มีการปรับปรุงกระบวนการวางแผน ตลอดจนการปฏิรูปอุตสาหกรรมพลังงานและโครงสร้างการกำกับดูแลเพื่อให้การพัฒนาและการดำเนินการของกิจการพลังงานมีความสอดคล้องกับเป้าหมายทางนโยบายที่กำหนดไว้ของรัฐบาลมากยิ่งขึ้น

รายงานฉบับนี้ได้สรุปข้อเสนอแนะเชิงนโยบายไว้ดังต่อไปนี้

1. สร้างกรอบในการทำให้แผนพีดีพีต้องรับผิดชอบต่อนโยบายรัฐ นโยบายทางการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การประกอบ กิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 มีดังต่อไปนี้:

  • ความมั่นคงทางพลังงาน: จัดหาพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการ
  • การพึ่งตนเองทางพลังงาน: ลดการพึ่งพาการนำเข้า
  • ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน
  • การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ใช้เชื้อเพลิงที่หลากหลาย
  • ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
  • ลดผลกระทบจากการจัดการพลังงาน
  • ราคาค่าบริการพลังงานที่เป็นธรรมและสมเหตุสมผลสำหรับผู้บริโภค

2. ปรับปรุงการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าโดยใช้แบบจำลอง End-use ให้ครอบคลุมทุกภาคส่วนแทนการพยากรณ์แบบเศรษฐมิติ

3. ปฏิรูปกระบวนการวางแผนระบบไฟฟ้าไปสู่กระบวนการ Integrated Resource Planning (IRP):

4. สร้างแรงจูงใจให้การไฟฟ้าส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

5. ลงทุนในการสร้างศักยภาพของประเทศไทยในการประเมินและตรวจสอบผลการประหยัดพลังงาน

6. ยุบคณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ดูแลการอนุมัติโครงการ VSPP

7. อนุญาตให้ฝ่ายที่สามสามารถเข้าถึงเครือข่ายท่อส่งก๊าซของ ปตท. ได้

More information: