รายงานสรุปสถานการณ์โครงการเขื่อนบนแม่น้ำสาละวินในพม่า

By: 
Salween Watch
Date: 
Wednesday, March 13, 2013

ปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมามีรายงานข่าวว่ารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงานไฟฟ้าพม่าแจ้งต่อรัฐสภาว่าได้อนุมัติ 6 โครงการเขื่อนสาละวินในพม่า ได้แก่ในพื้นที่รัฐฉาน รัฐคะยา (คะเรนนี) และรัฐกะเหรี่ยง ผลิตไฟฟ้าได้รวม 15,000 เมกกะวัตต์ เขื่อนเหล่านี้ได้แก่ เขื่อนสาละวินตอนบน หรือกุ๋นโหลง เขื่อนมายตง หรือเขื่อนท่าซาง เขื่อนหนองผา เขื่อนมานตอง (บนแม่น้ำสาขา) และเขื่อนยวาติ๊ดเป็นการลงทุนโดยบริษัทจีน 5 แห่ง กฟผ.อินเตอร์ ของไทย และบริษัทพม่า 3 แห่ง 

แม่น้ำสาละวินที่ไหลจากเทือกเขาหิมาลัยในทิเบต สู่มณฑลยูนนาน ประเทศจีน สู่พม่าและไทย รวมความยาว 2,800 กิโลเมตรจากยอดเขาสู่ทะเลอันดามัน เป็นแม่น้ำนานาชาติสายท้ายๆ ในโลก ที่ยังคงไหลอย่างอิสระ แม่น้ำสาละวินมีความอุดมสมบูรณ์ทางระบบนิเวศมากที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาค และเป็นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างน้อย 13 กลุ่ม อาทิ นู ลีซู ตู่หลง ไทใหญ่ กะเหรี่ยง ปะโอ คะเรนนี มอญ

กว่าทศวรรษที่ผ่านมามีการวางแผนโครงการเขื่อนบนแม่น้ำสาละวิน ทั้งหมด 13 โครงการในเขตประเทศจีน และอีก 6 โครงการบนลุ่มน้ำทางตอนล่าง ในพม่า และชายแดนไทย-พม่า 

ที่ผ่านมามีข้อมูลจากในพื้นที่เขื่อนเหล่านี้ออกมาสู่สาธารณะน้อยมาก เนื่องจากความไม่สงบในรัฐชาติพันธุ์ในพม่า เครือข่ายสาละวินวอชต์จึงรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการเขื่อนทางตอนล่าง ซึ่งมีความเคลื่อนไหวและความคืบหน้า ดังนี้

Salween Dams Map

โครงการเขื่อนกุ๋นโหลง  

ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของรัฐฉาน เขตปกครองของกองกำลังโกก้าง ใกล้ชายแดนจีน กำลังผลิตติดตั้ง 1,400 เมกกะวัตต์ ไฟฟ้าจำนวน 1,200 เมกกะวัตต์จะส่งไปขายยังประเทศจีนโดยเชื่อมต่อกับระบบสายส่งจีนใต้ ข้อมูลจากบริษัท Hydrochina Kunmig Engineering ระบุว่ามีหมู่บ้านหลายแห่งที่จะได้รับผลกระทบใน 6 เมือง โดยมีการจัดทำรายการการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ไปแล้วแต่ไม่มีการเปิดเผยข้อมูล และมีการก่อสร้างโครงการอย่างลับๆ โดยคืบหน้าไปมากแล้ว 

เมื่อปี 2553 กองทัพพม่าได้ส่งกำลังเข้าไปโจมตีกองกำลังโกก้างซึ่งไม่ยอมเข้าเป็นกองกำลังคุ้มครองชายแดน (BGF) ตามนโยบายของกองทัพพม่า ส่งผลให้ประชาชนกว่า 30,000 คน ต้องอพยพหนีการสู้รบไปยังชายแดนจีน 

โครงการเขื่อนหนองผา

ตั้งอยู่ในรัฐฉาน มีการลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อพัฒนาโครงการเมื่อครั้งที่นายสีจิ้นผิง รองประธานาธิบดีจีนเดินทางเยือนพม่าในปี 2553 ที่ผ่านมามีการเปิดเผยข้อมูลโครงการเขื่อนหนองผาน้อยมาก และการเข้าถึงพื้นที่เป็นไปได้ยาก ทำให้แทบไม่มีข้อมูลในพื้นที่ออกสู่ภายนอก

เขื่อนหนองผาตั้งอยู่ในเขตปกครองพิเศษของกองกำลังสหรัฐว้า (UWSA) ล่าสุดในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2556 จนถึงปัจจุบัน  กองทัพพม่าได้ส่งกำลังพลกว่า 1,000 คน (หลังจากการสู้รบในรัฐคะฉิ่น)  เข้าล้อมพื้นที่ของกองกำลังไทใหญ่ SSPP/SSA (เหนือ) และ RCSS/SSA (ใต้)  ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์และเป็นบริเวณติดกับพื้นที่ของว้า UWSA ทหารพม่าส่งสัญญาณเข้าโจมตีว้าในอนาคตอันใกล้  ซึ่งบริเวณที่จะสร้างเขื่อนจึงตั้งอยู่ในพื้นที่การสู้รบ 

โครงการเขื่อนท่าซาง 

ปัจจุบันมีชื่อเรียกหลายชื่อ อาทิ เขื่อนสาละวินตอนเหนือ หรือเขื่อนมายตง ตามชื่อเมืองโต๋น ที่ตั้งของเขื่อนในรัฐฉาน เป็นการร่วมทุนของ กฟผ.อินเตอร์ (บริษัทลูกของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) บริษัท China Three Gorges Corp ข้อมูลจากกฟผ.เมื่อเดือนมีนาคม ระบุว่าเขื่อนท่าซางมีกำลังผลิตติดตั้ง 7,000 เมกกะวัตต์ โดยกฟผ.อินเตอร์ ถือหุ้น 56.5 % มีวงเงินลงทุนรวม 3.6 แสนล้านบาท และระบุว่าจะเสนอขายไฟฟ้าให้แก่กฟผ. ได้ในกลางปี 2556

หลังจากการกวาดล้างใหญ่โดยกองทัพพม่าในช่วงปี 2539 ที่ทำให้ประชาชนในรัฐฉานกว่า 3 แสนคนต้องหนีภัยสงครามออกจากพื้นที่ซึ่งส่วนหนึ่งคือพื้นที่เขื่อนท่าซาง ในช่วงที่ผ่านมายังมีการสู้รบในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ที่เมืองปูหลงซึ่งเป็นเขตพื้นที่น้ำท่วม ตั้งอยู่เหนือที่ตั้งเขื่อนท่าซางทางทิศตะวันออกฝั่งสาละวิน ยังมีการปะทะกันระหว่างกองทัพพม่าและกองกำลังชาติพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้ชาวบ้านต้องหนีออกจากพื้นที่ ปัจจุบันเมืองปูหลงจึงกลายเป็นเมืองร้าง  ชาวบ้านที่ยังไม่หนีออกจากหมู่บ้านมีเพียงผู้ที่ยังเป็นห่วงบ้าน ที่ดิน ที่นา แม้จะต้องเสี่ยงกับการเป็นลูกหาบของทหารพม่า  

ในเดือนพฤษภาคม 2554 คนงานชาวจีนที่มาทำงานก่อสร้างเขื่อนท่าซางได้หายตัวไป ภายหลังกองกำลังรัฐฉาน SSA ได้พามาส่ง จากนั้นก็มีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่เขื่อนท่าซางอย่างเข้มงวด 

แม้จะมีการเจรจากสันติภาพระหว่างกองกำลังไทใหญ่ SSA และรัฐบาลพม่า แต่มีการเพิ่มจำนวนทหารพม่าเข้ามาในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และมีการปะทะอยู่ตลอด ทำให้ประชาชนไม่สามารถกลับคืนสู่บ้านเดิมได้  สำหรับชาวบ้านแล้วยากที่เชื่อว่าจะไม่มีการสู้รบและกลับไปอยู่หมู่บ้านเดิมอย่างสงบและปลอดภัย 

Nam Pang River's hundreds of islets would be destroyed if the Ta Sang Dam is built.

การลงพื้นที่ขององค์กรสิ่งแวดล้อมไทใหญ่เมื่อต้นเดือนมีนาคม พบว่าตั้งแต่ปลายปี 2555 มีคณะวิศกรและคนงานชาวจีนและพม่าประมาณ 100 คนเข้ามาทำงาน มีที่ทำการของบริษัทจีน ไทย และพม่า มีข้อมูลว่าได้มีการย้ายที่ตั้งเขื่อนจากบ้านท่าศาลา จุดสร้างเขื่อนเดิมที่วางแผนไว้ ขึ้นไปตามลำน้ำประมาณ 10 กิโลเมตร ซึ่งคาดว่าจะทำให้น้ำท่วมเข้าแม่น้ำปาง และเมืองกุ๋นเฮง ซึ่งเป็นเมืองบนเส้นทางสำคัญของรัฐฉานระหว่างตองยี-เชียงตุง-ท่าขี้เหล็ก 

เมืองกุ๋นเฮง หรือเมืองพันเกาะ อยู่บนแม่น้ำปางที่มีระบบนิเวศเป็นเอกลักษณ์ คือแม่น้ำแตกสาขาทำให้เกิดเกาะน้อยใหญ่มากมายและน้ำตกที่ลดหลั่นกันไป  เป็นระบบนิเวศที่งดงามและมีความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะพันธุ์ปลา ที่คนไทใหญ่รู้จักปลาน้ำปางที่มีรสชาติอร่อย  

จากการสอบถามชาวบ้าน พบว่าชาวบ้านไม่รู้ข้อมูลของเขื่อนท่าซาง ว่าจะเป็นอย่างไร น่ำท่วมถึงไหน เพียงแต่ได้ยินว่าเป็นโครงการพัฒนา 

สำหรับพื้นที่ป่ารอบๆ เขื่อนท่าซางหลายปีที่ผ่านมามีการสัมปทานทำไม้ ทำให้ป่าไม้ที่เคยอุดมสมบูรณ์ถูกตัดออกไปเป็นจำนวนมาก  

นอกจากนั้น ตลอดลำน้ำสาละวินในรัฐฉาน มีชาวจีนใช้เเรือขุดทอง เกือบ 200 ลำ ระหว่าง สะพานข้ามน้ำท่าก้อ สาละวิน และเมืองปูหลง การขุดทองดังกล่าวทำลายระบบนิเวศของแม่น้ำเป็นอย่างมาก และไม่มีใครรับรองได้ว่ากระบวนการนี้ปล่อยสารพิษใดลงสู่แม่น้ำบ้าง

โครงการเขื่อนยวาติ๊ด 

Community research on fish species conducted by Thai-Karen villagers
ภาพโดยงานวิจัยปกากญอสาละวนิ

ตั้งอยู่ไม่ไกลจากจุดที่แม่น้ำปายบรรจบแม่น้ำสาละวิน ในรัฐคะยา (คะเรนนี) เป็นโครงการของบริษัทต้าถัง (Datang)  จากจีน ซึ่งลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) กับรัฐบาลพม่าเมื่อปี 2553 ข้อมูลเดิมระบุว่าเขื่อนยวาติ๊ดมีกำลังผลิตติดตั้ง 600 เมกกะวัตต์ แต่ข้อมูลจากเว็บไซต์ของบริษัทต้างถัง เดือนมีนาคม 2556 ระบุว่าเขื่อนมีกำลังผลิตสูงถึง 4,500 เมกกะวัตต์ 

กลุ่มสิ่งแวดล้อมคะเรนนีรายงานว่ามีการสัมปทานทำไม้อย่างมหาศาลในพื้นที่รอบๆ เขื่อนยวาติ๊ด มีการปรับถนนจากลอยก่อ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐคะเรนนี สู่เมืองบอเลอเค และยวาติ๊ด

หมู่บ้านรอบๆ เขื่อนยวาติ๊ดได้อพยพหนีภัยสงครามออกจากพื้นที่ไปกว่าสิบปีแล้ว ส่วนใหญ่เป็นผู้ลี้ภัยที่อาศัยตามแนวชายแดน อย่างไรก็ตามข้อมูลล่าสุดระบุว่ายังมีชาวบ้านอาศัยอยู่รอบๆ ยวาติ๊ดจำนวนหนึ่งโดยจัดเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (Internally Displaced Persons-IDPS) ชาวบ้านกลุ่มนี้ต้องหนีไปซ่อนตัวในมาในช่วงที่มีการสู้รบ

รัฐคะเรนนีเคยมีบทเรียนอันเจ็บปวดจากการสร้างเขื่อนโมบีและโรงไฟฟ้าลอปิตาเมื่อกว่า 30 ปีก่อน โรงไฟฟ้าลอปิตาซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของพม่า ทำให้ประชาชน 12,000 คน ต้องถูกถอนรากถอนโคนออกจากถิ่นฐาน กองทัพพม่าส่งทหารนับพันเข้ามาคุ้มครองโรงไฟฟ้า นำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนนานัปประการโดยทหารพม่า อาทิ การทารุณกรรมทางเพศ การสังหาร และการบังคับใช้แรงงานทาส นอกจากนี้ยังมีการวางกับระเบิดกว่า 18,000 อันรอบๆ โรงไฟฟ้าและแนวสายส่ง

เช่นเดียวกับเขื่อนท่าซาง หมู่บ้านในพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวินในรัฐคะเรนนีถูกกวาดล้างครั้งใหญ่ในปี 2539 เป็นผลให้หมู่บ้านจำนวน 212 แห่ง ประชากรอย่างน้อย 37,000 คน ต้องอพยพออกจากพื้นที่ ส่วนใหญ่หนีสู่ชายแดนไทยและยังคงไม่ได้กลับไปยังหมู่บ้านเดิมจนถึงปัจจุบัน 

เขื่อนยวาติ๊ดมีการสำรวจโดยทีมจีน-พม่า เพื่อเตรียมก่อสร้างอย่างจริงจังในช่วงปี 2553 มีรายงานว่ามีการซุ่มโจมตีรถของคณะสำรวจที่ใกล้เมืองพรูโซในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้มีวิศวกรชาวจีนเสียชีวิต 3 ราย 

ต่อมาในปี 2554 มีการตั้งค่ายทหารของกองกำลังรักษาชายแดนของกองทัพพม่า (BGF) หมายเลข 1005 และมีกองกำลังพิเศษที่มีภารกิจรักษาความปลอดภัยของคณะสร้างเขื่อนชาวจีน รายงานว่าผู้บัญชาการพิเศษภาคพื้น 55 ที่มีฐานอยู่ที่บอลาเค ได้เดินทางไปยังพื้นที่ยวาติ๊ดเพื่อตรวจการณ์และรักษาความปลอดภัยแก่การก่อสร้างเขื่อนอย่างเข้มงวด

กองกำลังคะเรนนี (KNPP) ได้ลงนามตามข้อตกลงหยุดยิงกับกองทัพพม่า 14 ข้อ ในปี 2555 ข้อตกลงมีเนื้อหาระบุถึงโครงการเขื่อนยวาติ๊ดว่าจะมีการสร้างความโปร่งใสในโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ (รวมถึงเขื่อนยวาติ๊ด) ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันในการให้ข้อมูลแก่สาธารณะ และอนุญาตให้ประชาชนและองค์กรชุมชนหาข้อมูลได้อย่างไรก็ตามเมื่อกลุ่มสิ่งแวดล้อมลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลกลับถูกจับกุมโดยทางการพม่าและห้ามเข้าพื้นที่เขื่อน

ในปี 2555 ยังมีรายงานว่ามีการสัมปทานตัดไม้ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำของเขื่อนอย่างกว้างขวาง 

โครงการเขื่อนฮัตจี

ตั้งอยู่ในรัฐกะเหรี่ยง ห่างจากชายแดนไทย-พม่า ที่บ้านสบเมย .แม่ฮ่องสอน 47 กิโลเมตร ลงทุนโดยกฟผ.อินเตอร์ ร่วมกับบริษัทไซโนไฮโดร จากจีน มีกำลังผลิตติดตั้ง 1,360 เมกกะวัตต์ มูลค่าลงทุน 8 หมื่นล้านบาท โครงการเขื่อนฮัตจีถูกคัดค้านจากประชาชนในพื้นที่มาโดยตลอด โดยเฉพาะหมู่บ้านในฝั่งไทยแถบอ.แม่สะเรียง และอ.สบเมย .แม่ฮ่องสอน เนื่องจากกังวลผลกระทบข้ามพรมแดนต่อระบบนิเวศ พันธุ์ปลา การประมง และอ่างเก็บน้ำของเขื่อนที่อาจท่วมมาถึงพื้นทีทำกินและอาศัยของหลายหมู่บ้านริมแม่น้ำสาละวิน

A family displaced by conflict in Burma

กลุ่มสิทธิมนุษยชนกะเหรี่ยงรายงานว่าช่วงกลางปี 2552 กองทัพพม่า ร่วมกับกองกำลังกะเหรี่ยงพุทธ (DKBA) โจมตีพื้นที่ของกองกำลังกะเหรี่ยงเคเอ็นยูในพื้นที่พะอัน (Pa-an) ส่งผลให้ชาวบ้านต้องหนีภัยความตายมายังประเทศไทยอย่างน้อย 3,500 คน ส่วนใหญ่เป็นเด็กและผู้หญิง อาศัยอยู่ในเขต .ท่าสองยาง . ตาก นับเป็นการโจมตีที่ส่งผลให้เกิดผู้หนีภัยสงครามจากรัฐกะเหรี่ยงเข้าสู่ประเทศไทยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 10 ปี รายงานระบุอีกว่ามีกำลังทหารกองทัพพม่า 5 กองพัน และDKBA รวมกว่า 900 นายเข้าร่วมในการโจมตีครั้งนี้ โดยมิได้มีเป้าหมายทำลายเพียงแค่ฐานที่มั่นของกองกำลัง KNU เท่านั้น แต่ยังมีเป้าหมายในการโจมตีพลเรือน คือประชาชนในหมู่บ้านต่างๆ และค่ายผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ พื้นที่สู้รบดังกล่าวห่างจากพื้นที่สร้างเขื่อนฮัจจี เพียงประมาณ 17 กิโลเมตร และใกล้เคียงแนวตัดถนนจากชายแดนไทยเข้าสู่หัวงานเขื่อน ตลอดจนแนวสายส่งไฟฟ้าสู่ชายแดนที่ .ตาก 

สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนฮัตจีและบริเวณใกล้เคียงยังคงเป็นพื้นสู้รบ และยังมีประชาชนอพยพออกมาจากพื้นที่เนื่องจากความขัดแย้งดังกล่าว ตลอดจนการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยกองกำลังทหารพม่า และDKBA อาทิ การเรียกเกณฑ์แรงงานทาส การเรียกเก็บภาษีนอกระบบ และการข่มขืน

ในส่วนของไทย สำนักนายกรัฐมนตรีในช่วงพ.. 2552 ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาและติดตามผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนจากโครงการนี้ และได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากผู้ได้รับผลกระทบในช่วง .. 2554 ในเวทีรับฟังความคิดเห็นที่อ.สบเมย .แม่ฮ่องสอน มีชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบเข้าร่วมจำนวนมาก ชาวบ้านได้สะท้อนความกังวลเรื่องผลกระทบจากเขื่อน ทั้งในด้านระบบนิเวศ วิถีชีวิต และผลกระทบต่อชาวบ้านในฝั่งพม่า แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบจากในเวที

คณะอนุกรรมการมีข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลให้ทำการศึกษาผลกระทบข้ามพรมแดนครอบคลุมหมู่บ้านในฝั่งไทย อย่างไรก็ตามจวบจนปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาดังกล่าว

อย่างไรก็ตามช่วงที่ผ่านมาพบว่ากฟผ. มีความเคลื่อนไหวเพื่อผลักดันโครงการอย่างต่อเนื่อง มีรายงานว่ามีการพยายามเจรจากับผู้นำกองกำลังสหภาพชนชาติกะเหรี่ยง หรือเคเอ็นยู หลายครั้งในช่วง ..2555 ชาวบ้านในพื้นที่ .สบเมยยังรายงานว่ามีคณะของกฟผ.และบริษัทจีนลงสำรวจแม่น้ำสาละวินระหว่างสบเมย-บ้านแม่สามแลบ-บ้านท่าตาฝั่ง สร้างความกัลวลใจต่อชาวบ้านเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากไม่มีการแจ้งหรือจัดเวทีปรึกษากับชุมชนก่อน ทั้งที่มีข้อเสนอแนะจากสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว

การเร่งรีบสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ในเขตรัฐกะเหรี่ยงของนักลงทุนในพม่า เป็นอุปสรรคคุกคามต่อการเจรจาสันติภาพระหว่างกองกำลังกะเหรี่ยง KNU และรัฐบาลพม่า การเพิ่มกำลังทหารของกองทัพพม่าบริเวณที่ตั้งเขื่อนและการไม่ใส่ใจไยดีต่อข้อกังวลของชุมชนที่จะได้รับผลกระทบ ทำให้เกิดความตึงเครียดเพิ่มขึ้น และทำให้เกิดข้อสงสัยต่อความจริงใจของรัฐบาลพม่าในการจัดเจรจาสันติภาพ 

เพียงสองเดือนหลังมีความตกลงหยุดยิงเบื้องต้นก็มีการส่งกำลังจำนวนมากเข้าไปให้กับค่ายทหารพม่าที่ทำการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่สร้างเขื่อน และแผนการจัดตั้งกองพันทหารใหม่ในพื้นที่  

ที่ผ่านมากองทัพ KNU เรียกร้องให้ยุติโครงการเขื่อนฮัตจีจนกว่าจะมีแนวทางสันติภาพชัดเจนในพม่า แต่ด้วยแรงกดดันจากบริษัทจีนและกฟผ. เป็นเหตุให้ทาง KNU ต้องยินยอมให้มีการสำรวจพื้นที่สร้างเขื่อน 

ปัจจุบันกองทัพพม่าเพิ่มจำนวนทหารเข้ามาในพื้นที่รอบๆ เขื่อนฮัตจีทั้งฝั่งซ้ายและขวา รวมเป็น 8 กอง และมีรายงานเมื่อต้นเดือนมีนาคมว่า มีการตัดถนนเข้าสู่หัวงานเขื่อนที่แม่เส็ก และบ้านแม่ปะ ซึ่งอยู่ใกล้ชายแดนที่บ้านสบเมย

พอ เส่ง ทวา นักสิ่งแวดล้อมชาวกะเหรี่ยงกล่าวว่ารัฐบาลพม่าควรแสดงความจริงใจที่จะยุติโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ในพื้นที่กลุ่มชาติพันธุ์ จนกว่าจะมีสันติภาพและการปฏิรูปการเมืองอย่างแท้จริง เพื่อประกันสิทธิของชุมชนที่ได้รับผลกระทบและฝ่ายนักลงทุนกำลังทำลายความหวังของชาวกะเหรี่ยงที่อยากเห็นสันติภาพถาวร